วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยีราฟจ๋า


                                                   
GIRAFFE 


ยีราฟ  เป็นสัตว์สี่ขาที่สูงที่สุดในโลก เพราะขายาว และคอยังยาวที่สุดอีกต่างหาก มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา เขามีขนปกคลุมอยู่ หนังมีขนสั้นสีน้ำตาล มีลายขาวแปลกตา ปากและลิ้นยาว ใช้ริมฝีปาก และลิ้นม้วนวนจับใบไม้ได้ มีเต้านม 4 เต้า พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา แถบทุ่งหญ้าสะวันนา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ตั้งแต่ไนจีเรียไปจนจรดแม่น้ำออเรนจ์ ยีราฟไม่ชอบกินหญ้ามากนัก ชอบกินใบไม้มากกว่า อาศัยอยู่ในทุ่งกว้างรวมกันเป็นฝูง และหากินร่วมกับสัตว์อื่นพวกม้าลาย นกกระจอกเทศ และพวกแอนติโลป โดยยีราฟจะคอยระวังภัยให้ ตัวผู้มีการต่อสู้กันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ศัตรูสำคัญของยีราฟคือเสือดาวและสิงโต ซึ่งยีราฟป้องกันตัวโดยใช้หัวเหวี่ยงและใช้เท้าเตะ ยีราฟเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุราว 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420 - 468 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 10 เดือน เป็นสัดทุก 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่นาน 24 ชั่วโมง และมีอายุยืนประมาณ 20-30 ปี




                              ภาษาสเปน                                 Jirafa (ฆิร้าฝะ)
                              ภาษาโปรตุเกส                           Girafa (ชิร้าฝะ)
                              ภาษาอิตาลี                                 Giraffa (จิรัฟฝะ)
                              ภาษาฝรั่งเศส                             Girafe (ชิคราเฝอะ)
                              ภาษาเยอรมัน                             Giraffe (กิรัฟเฝอะ)
                              ภาษารัสเซีย                               Жирафа (ชือร้าฝะ)
                              ภาษากรีก                                 Καμηλοπάρδαλη (กามิโลป้าดาลิ)





ด้วยความที่เป็นสัตว์ตัวสูง ยีราฟจำเป็นต้องมีหัวใจขนาดใหญ่เพื่อหมุนสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ยีราฟสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต เสมือนกับปั๊มน้ำที่สูบน้ำขึ้นไปยังตึกสูง หัวใจของยีราฟหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ระบบไหลเวียนโลหิตจึงเป็นแบบพิเศษ เรียกว่า "Rete mirabile" ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไปเวลายีราฟก้มตัวดื่มน้ำ ระบบไหลเวียนเลือดพิเศษนี้จึงเปรียบเสมือนวาล์วปิดเปิดน้ำ


คอของยีราฟประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งยึดติดกับบริเวณหัวไหล่ คอของยีราฟจึงไม่ห้อยตกลงมา ซึ่งคอของยีราฟนอกจากจะใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั่วไป ยังมีส่วนสำคัญในพฤติกรรมทางสังคมเช่นกัน ยีราฟตัวผู้จะเข้าต่อสู้โดยใช้คอของถูหรือฟาดกับยีราฟตัวอื่น เพื่อจะแสดงความเป็นจ่าฝูง และใช้เกี้ยวพาราสีหาคู่เพื่อสืบพันธุ์ด้วย







    ใครจะรู้บ้างว่า นอกจากยีราฟจะได้ชื่อว่าโย่งที่สุดในโลกแล้ว มันยังมีลิ้นที่ใหญ่และยาวมาก ข้อดีของการมีลิ้นที่ใหญ่และยาวนี้เอง จึงมีประโยชน์เวลาใช้ตวัดยอดไม้สูง ๆ ลงมากินได้อย่างสบายหายห่วง ลิ้นและริมฝีปากของมันหยาบหนา จึงช่วยให้กินได้แม้กระทั่งไม้หนาม 
 ยีราฟมีขนสั้น สีน้ำตาลสลับเหลืองลายจุด หรือลายขีด ส่วนท้องมีสีขาว ยีราฟมักจะถูกขนานนามต่าง ๆ นานา เพราะเห็นว่ามันมีลักษณะเหมือนสัตว์หลายชนิดผสมกัน เช่น ส่วนคอและหลังจะเหมือนอูฐ หูเหมือนวัว ลายเหมือนเสือ หางเหมือนลิง และยังมีขาเหมือนกวางอีกต่างหาก
 ถิ่นที่อยู่อาศัยของยีราฟมักเป็นแถบทุ่งหญ้าที่มีต้นไม้สูงเป็นหย่อม ๆ มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงละประมาณ 20 ตัว ละบางทีก็จะรวมกลุ่มกับสัตว์อื่น ๆ เช่น ม้าลาย นกกระจอกเทศ และแอนติโลฟ ด้วยความที่มันตัวสูงกว่าเพื่อน แถมยังมีสายตาและหูไวเป็นพิเศษ จึงมีหน้าที่คอยระวังภัยให้พวกสัตว์อื่น ๆ ส่วนศัตรูสำคัญของยีราฟก็คือ เสือดาวและสิงโต เมื่อมีศัตรูมากล้ำกราย มันจะวิ่งได้เร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แต่หากจวนตัวจริง ๆ ยีราฟจะต่อสู้ด้วยการใช้หัวเหวี่ยง ฟาด และใช้เท้าเตะคู่ต่อสู้ จนหลายครั้งเสือดาวละสิงโตต้องพ่ายไป เพราะทนต่อแรงหน้าแข้งอันแข็งแรงไม่ไหว 
 ปกติแล้ว ยีราฟจะไม่ส่งเสียงร้อง นอกจากช่วงฤดูผสมพันธุ์ มันจะร้อง “แอ๊ะ ๆ” เหมือนแกะ ตัวเมียจะตั้งท้องนานราว 14 – 15 เดือน ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังตกลูก ลูกยีราฟก็สามารถลุกขึ้นได้ ซึ่งลูกยีราฟแรกเกิดตัวสูงกว่าคนซะอีก
 ยีราฟจะออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน อาหารโปรดของมันคือ ยอดไม้และใบไม้ ช่วงเย็นย่ำเป็นเวลาหาแหล่งน้ำ หลังจากนั้นจึงหาที่นอนเคี้ยวเอื้อง แต่ยีราฟไม่ได้ล้มตัวลงนอนราบเหมือนสัตว์อื่น ๆ มันจะยืนหลับโดยการพิงต้นไม้ หรือไม่ก็นั่งพับขาไว้ใต้ลำตัว คนโบราณเชื่อว่ายีราฟเป็นลูกผสมที่เกิดจากอูฐผสมพันธุ์กับเสือดาว









ยีราฟมีหลายพันธุ์ เช่น..

  • Angolan Giraffe หรือ Smoky Giraffe พบได้ในประเทศแองโกลา และแซมเบีย ลายบนตัวมีขนาดใหญ่ และกินพื้นที่มาถึงบริเวณช่วงขาท่อนล่าง

  • Maasai Giraffe หรือ Kilimanjaro Giraffe มีขนาดใหญ่ และสูงที่สุดในบรรดายีราฟทั้ง 9 พันธุ์ อาศัยอยู่บริเวณประเทศเคนยา และแทนซาเนีย ลักษณะลายบนตัวไม่เป็นรูปทรงเหลี่ยม สีของลายขึ้นอยู่กับสถานะของยีราฟในฝูง ผู้นำฝูงจะมีลายจุดสีเข้มกว่าตัวอื่น ๆ ในฝูง

  • Nubian Giraffe พบได้บริเวณภาคตะวันออกของประเทศซูดาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศคองโก (DRC) ลักษณะลายจุดคล้ายรูปสี่เหลี่ยมบนพื้นสีเหลืองอ่อนถึงขาว

  • Rothschild Giraffe หรือ Baringo Giraffe หรือ Ugandan Giraffe มีสีลายบนตัวอ่อนกว่ายีราฟพันธุ์อื่น เป็นพันธุ์เดียวที่มีเขาขึ้นห้าตำแหน่ง สองเขาแรกเป็นเขาจริงที่เห็นได้ชัดบนหัว อีกหนึ่งเขาเป็นจุดที่มีลักษณะคล้ายเขาอยู่บริเวณเหนือจมูก อีกสองเขาเป็นจุดอยู่หลังใบหู Rothchild Giraffe พบได้ทั่วไปในประเทศเคนยา และบริเวณภาคเหนือของประเทศยูกันดา

  • South African Giraffe จุดของยีราฟพันธุ์นี้จะไม่ค่อยเป็นเหลี่ยม แต่ดูออกเป็นลักษณะกลมมากกว่า พบได้บริเวณประเทศแอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว และโมซัมบิก

  • Thornicroft Giraffe หรือ Rhodesian Giraffe จุดบนตัวมีรูปทรงคล้ายใบไม้ หรือรูปทรงดาว พบได้ในประเทศแซมเบีย

  • West African Giraffe หรือ Nigerien Giraffe พบได้บริเวณ Sahel Region ของแอฟริกาตะวันตก ตั้งแต่ประเทศเซเนกัลจนถึงประเทศแคเมอรูน พบมากในประเทศไนเจอร์ ลายบนตัวมีสีแดงออกเหลืองอ่อน ๆ ต่างจากพันธุ์อื่นที่มักมีลายสีออกแดง หรือน้ำตาลเข้ม


ด้วยสภาพภูมิอากาศตามแหล่งที่อยู่อาศัยของยีราฟมีลักษณะแห้งแล้ง ทำให้พวกมันต้องดื่มน้ำในปริมาณมาก ๆ และเมื่อมีโอกาส ก็จะดื่มน้ำทีละเยอะ ๆ เพื่อกักตุนจะได้ไม่ต้องดื่มน้ำบ่อย เพราะการดื่มน้ำนั้น ยีราฟต้องก้มตัว ถ่างขาหน้า เป็นท่าทางที่เปิดช่องให้สิงโต และจระเข้จู่โจมพวกมัน เวลายีราฟดื่มน้ำ พวกมันจึงดื่มน้ำกันเป็นฝูง โดยผลัดกันเป็นเวรยามเฝ้าระวังสัตว์อื่นที่จะเข้ามาทำร้ายพวกของมัน อีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับยีราฟคือ รูปแบบการนอนของพวกมัน ยีราฟถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่ใช้เวลานอนหลับเฉลี่ยต่อวัน สั้นที่สุด พวกมันหลับเพียง 10 นาที - 2 ชั่วโมงต่อวัน

แม้ว่ายีราฟจะเป็นสัตว์ที่ดูอ่อนโยน ไม่ค่อยส่งเสียง และแสดงความก้าวร้าวนัก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ยีราฟจะเป็นสัตว์ที่อ่อนกำลัง หากมันถูกจู่โจม พวกมันก็พร้อมจะตอบโต้เพื่อป้องกันตัวเอง ยีราฟเพศผู้สามารถรวบรวมกำลังแตะสิงโตให้กะโหลก หรือ สันหลัง แตกและหักได้ ยีราฟจึงเป็นสัตว์ผู้ถูกไล่ล่าที่จับตัวยาก และจัดการลำบากที่สุดชนิดหนึ่ง ผู้ล่ายีราฟจึงมักเป็นสิงโตมากกว่าสัตว์นักล่าอื่น แต่โดยปกติแล้ว ยีราฟจะไม่ค่อยถูกล่า ยกเว้นแต่ลูกยีราฟ หรือยีราฟที่กำลังดื่มน้ำ หรือ นอนหลับเท่านั้น


ยีราฟยังมีพฤติกรรมการพันคอ ซึ่งมีจุดประสงค์สองด้าน ด้านแรก ยีราฟเพศผู้สองตัว มักจะพันคอกัน แล้วพยายามเหวี่ยงคอของอีกฝ้าย หากอีกฝ้ายล้ม แสดงว่าอีกฝ่ายเป็นผู้มีพลังมากกว่า และเป็นผู้ชนะที่จะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียวัยเจริญพันธุ์ ด้านที่สอง มีผู้ศึกษาพฤติกรรมการพันคอของยีราฟว่า มักจะเกิดในเพศผู้ และเป็นพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีที่มักจบด้วยการพยายามผสมพันธุ์ พฤติกรรมเช่นนี้คิดเป็น 30-75% ในขณะที่พฤติกรรมเดียวกันในเพศเมีย กลับเกิดขึ้นเพียง 1% เท่านั้น 
ที่มาจากยีราฟ
















































































































ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก